แชร์

Edible Art (ศิลปะกินได้)

ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ศิลปะมีรูปแบบมากมายนับไม่ถ้วน ก้าวข้ามเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมและเปิดรับช่องทางการแสดงออกที่แปลกใหม่ ดังนั้น การหลอมรวมอาหารและความคิดสร้างสรรค์จึงกลายเป็นผืนผ้าใบอันงดงามสำหรับเชฟในการแต่งแต้มจินตนาการของพวกเขาลงไปบนจาน เพราะทุกวันนี้การทำอาหารไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของรสชาติและเนื้อสัมผัสเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างประสบการณ์อันเย้ายวนให้เหล่านักชิมทั้งหลายอีกด้วย

รากฐานของศิลปะที่กินได้ในอารยธรรมโบราณ

เรื่องราวของ ศิลปะที่กินได้ (Edible art) นั้นมีรากเหง้าย้อนไปถึงอารยธรรมโบราณที่ซึ่งสุนทรียภาพในการทำอาหารมีบทบาทสำคัญในงานเลี้ยงและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยอาหารได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการแสดงออกทางศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นประติมากรรมน้ำตาลอันประณีตของอาณาจักรไบแซนไทน์ อาหารที่หรูหราในงานเลี้ยงยุคเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส รวมไปถึงศิลปะการแกะสลักผักหรือผลไม้ที่เรียกว่า มูกิโมโนะ (Mukimono) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้ให้ความสำคัญกับความงามของอาหารมานานแล้ว

เชฟคือศิลปิน: การเลือกสรรวัตถุดิบและสร้างความกลมกลืน

ในโลกของการทำอาหาร เชฟก็เปรียบเสมือนศิลปินที่คอยแต่งแต้มความงามอันเป็นเอกลักษณ์ลงไปบนจานเพื่อสร้างความน่าดึงดูด เพราะการเลือกวัตถุดิบลงไปในจานก็เหมือนกับศิลปินที่เลือกชุดสีสำหรับภาพวาด เนื่องจากวัตถุดิบแต่ละอย่างมีรสชาติ กลิ่น และรูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การนำสิ่งที่ต่างกันมารวมอยู่ในที่เดียวแล้วสร้างความกลมกลืน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์

Entremets: จุดสูงสุดของศิลปะอาหารในยุคเรอเนซองส์

ในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ราชสำนักฝรั่งเศสได้หลอมรวมเทคนิคหลายอย่างนำไปสู่การพัฒนา Entremets (อองเทรอเมต์) อาหารหรูหราที่สร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจงที่แสดงถึงทักษะการทำอาหารของเชฟ ซึ่งมีกระบวนการทำที่ซับซ้อนเป็นอย่างมากแตกต่างจากเค้กทั่วไป

Entremets จะถูกประกอบขึ้นมาหลายชั้น ซึ่งแต่ละชั้นก็จะทำมาจากขนมที่หลากหลาย เช่น เค้ก มาร์ซิปัน พานาคอตต้า มูส และอื่น ๆ ดังนั้น วิธีการทำจึงมีความซับซ้อน เพราะต้องคำนึงถึงความเข้ากันได้ของสีสัน รสชาติ และเนื้อสัมผัส รวมไปถึงต้องออกแบบให้มีรูปลักษณ์สวยงามน่าสนใจ การทำขนมประเภทนี้เป็นการเปิดกว้างทางศิลปะเป็นอย่างมาก เพราะเชฟสามารถสร้างความแตกต่างของแต่ละชั้นได้อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ จนเกิดเป็นอาหารฟิวชั่นที่ผสมผสานรสชาติ เทคนิค และส่วนผสมจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ทำให้การรับประทานอาหารกลายเป็นประสบการณ์ที่หลากหลายทางประสาทสัมผัส

ศิลปะกินได้ในยุคดิจิทัล: ความงามที่ต้องตา

ในยุคดิจิทัล แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram, Pinterest และอื่น ๆ ได้กลายเป็นแกลเลอรี่สำหรับศิลปินด้านอาหาร เพื่อแสดงผลงานศิลปะที่กินได้ ทำให้ปัจจุบันความสวยงามของอาหารมีความสำคัญพอ ๆ กับรสชาติ เนื่องจากเชฟจะต้องสนองความอยากอาหารทางสายตาให้กับเหล่านักชิมผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ รูปภาพที่สวยงามของอาหารจึงเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจและสร้างแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดี

ความสามารถที่ไร้ขอบเขตของเชฟ: ผู้สร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่ง

ศิลปะที่กินได้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถอันไร้ขอบเขตของเชฟในการพัฒนา ปรับเปลี่ยน และสร้างสรรค์ เพราะถึงแม้เวลาจะผ่านไป เชฟทั่วโลกก็ยังคงมีความเป็นศิลปินในตัวเอง ทำให้ทุกวันนี้เรามีอาหารที่ทั้งอร่อยและสวยงามให้ได้ลิ้มลอง ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์แห่งการทำอาหารและศิลปะแห่งการนำเสนอได้อย่างลงตัว

Tags :

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jerky (เจอร์กี้)
ทำความรู้จัก Jerky (เจอร์กี้) จากอาหารที่เก็บไว้ทานเพื่อความอยู่รอด สู่ยุคที่เราอยู่รอดแต่ก็ยังอยากทาน
Margherita (มาร์การิตา)
ทำความรู้จัก Margherita (มาร์การิตา) ต้นกำเนิดพิซซ่าสมัยใหม่ถาดแรกของโลก
Poutine (ปูทีน)
ชวนรู้จัก Poutine (ปูทีน) มันฝรั่งทอดสไตล์แคนาดา
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ